1.618 share

แนวทางการศึกษาต่อด้านศิลปะและการออกแบบ

 ๑.กลุ่มวิชาศิลปะ
ได้แก่รายวิชาที่เกี่ยวกับทัศนศิลป์อันได้แก่  จิตรกรรม  ประติมากรรม  ภาพพิมพ์  ศิลปะไทย  รวมไปถึงทฤษฎีทางศิลปะ  เน้นการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะบริสุทธิ์  หรือพูดง่าย ๆ ก็คือศิลปะที่ไม่ได้ทำขึ้นเพื่อการค้าพาณิชย์  แต่มุ่งตอบสนองความคิดสร้างสรรค์ของศิลปินเป็นหลักนั่นหล่ะค่ะ  นอกจากนี้ยังต้องเรียนรู้ในเรื่องประวัติศาสตร์ศิลปะ  ทฤษฎีศิลปะ  และการวิเคราะห์งานศิลปะ  เพื่อนำมาประกอบกับการทำงานของเราให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  และฝึกฝนให้เป็นผู้ที่ทำงานอย่างมีระบบ  รู้จักวางแผนการค้นคว้า  และขั้นตอนในการสร้างสรรค์


จบด้านนี้แล้ว ไปทำอะไรกัน  คำตอบที่ตรงที่สุดก็คือการเป็นศิลปิน  หรือนักวิชาการด้านศิลปะ  แต่นอกเหนือจากนี้ เราสามารถนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้กับการออกแบบงาน ศิลปะเชิงพาณิชย์อื่น ๆ  ได้มากมาย  หรือทำอาชีพในลักษณะเป็นผู้ควบคุม  ดูแล  กำกับและสร้างสรรค์งานในเชิงศิลปกรรมแขนงต่าง ๆ

การเตรียมตัวสอบเพื่อเรียนต่อในสายวิชานี้  ที่ดีที่สุดคือการฝึกฝนพื้นฐานการ  Drawing  ให้มีความเข้าใจเรื่องโครงสร้างของมนุษย์(Figure)  เรื่องน้ำหนักแสงเงาและฝึกฝนวิชาองค์ประกอบพื้นฐาน  เพื่อให้มีความชำนาญในด้านการจัดองค์ประกอบภายในผลงาน  เช่นว่าจะใช้สีอะไรคู่กับสีอะไร  วางลักษณะของภาพอย่างไรให้ดูลงตัว  และเหมาะสมกับเนื้อหาของภาพ 

นอกจากนี้บางคณะเปิดสอนรายวิชาทฤษฎีศิลป์  เราก็ต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเรื่องประวัติศาสตร์ศิลปะ  ทั้งในประเทศและต่างประเทศควบคู่กันไปด้วย

แต่ละสถาบันเขาก็มีชื่อเรียกคณะวิชาที่ว่านี้ต่าง กันไป  ส่วนรายละเอียดของหลักสูตรแต่ละที่ สามารถลิงค์ไปยังเวบไซต์ของสถาบันนั้น ๆ ได้

มหาวิทยาลัยของรัฐที่เปิดสอนได้แก่ 
  • คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์  มหาวิทยาลัยศิลปากร www.su.ac.th/academics
  • คณะมัณฑนศิลป์  ภาควิชาประยุกต์ศิลป์  มหาวิทยาลัยศิลปากร www.su.ac.th/academics
  • คณะศิลปกรรมศาสตร์  ภาควิชาทัศนศิลป์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย www.faa.chula.ac.th
  • คณะศิลปกรรมศาสตร์  สาขาวิชาทัศนศิลป์  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  ประสานมิตร fofa.swu.ac.th
  • คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์  ภาควิชาวิจิตรศิลป์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร  ลาดกระบัง www.arch.kmitl.ac.th/?choose_menu=course
  • คณะวิจิตรศิลป์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ www.finearts.cmu.ac.th
  • คณะศิลปกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น faa.kku.ac.th/index2.html
  • คณะศิลปกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยบูรพา fineart.buu.ac.th
  • คณะศิลปกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยทักษิณ art.tsu.ac.th
๒.กลุ่มวิชาศิลปะประยุกต์
ได้แก่  สาขาออกแบบภายใน,  สาขานิเทศศิลป์,  สาขาการออกแบบผลิตภัณฑ์,  สาขาออกแบบเครื่องประดับ, สาขาออกแบบแฟชั่น, สาขาออกแบบเซรามิค,  สาขาภาพยนต์,  และสาขาภาพถ่าย  

แต่ละสาขามีความแตกต่างกันอย่างไร 

สาขาวิชาเหล่านี้คือ การนำความรู้ด้านศิลปะมา ประยุกต์ใช้กับงานในเชิงพาณิชย์  

คำถามว่า เราจบด้านทัศนศิลป์มา  เราก็สามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ทำงานตรงนี้ได้อยู่แล้วไม่ใช่หรือ  
คำตอบคือ ใช่ แต่การที่เราเรียนจบมาเฉพาะทางแบบนี้  ทำให้เรามีข้อได้เปรียบตรงที่สามารถทำงานในสายนั้น ๆ ได้โดยตรง  เช่นจบออกแบบภายในมา ก็ทำงานด้านออกแบบภายในได้ตามที่เรียนมา  มีความเชี่ยวชาญในระดับลึกกว่า  และสามารถพัฒนาทักษะความสามารถของตนไปในทางนี้ได้รวดเร็วกว่า  

แต่คนที่เรียนมาแบบเฉพาะทาง ก็จะมีโอกาสในการเลือกงานหลังจากสำเร็จการศึกษาในวง แคบกว่า  
แต่ในโลกของการทำงานจริงเรามีเวลาเรียนรู้เสมอ  ขึ้นอยู่กับโอกาสของชีวิตและความใส่ใจใฝ่รู้ของเราเอง

๒.๑  สาขาออกแบบภายใน
เป็นการออกแบบตกแต่งภายในเคหสถานบ้านเรือน  อาคารที่พักอาศัย  รวมไปถึงหอประชุมต่าง ๆ ให้มีความสวยงาม  เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและภูมิอากาศ  

การเตรียมตัวเพื่อสอบ 
*Drawing  *การสร้างระยะด้วยเส้นนำสายตา  (Perspective)  *การสร้างสัดส่วนที่ถูกต้อง  (Proportion)

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน
  • คณะมัณฑนศิลป์  ภาควิชาออกแบบภายใน  มหาวิทยาลัยศิลปากร www.su.ac.th/academics
  • คณะศิลปกรรมศาสตร์  ภาควิชานฤมิตศิลป์  วิชาเอกมัณฑนศิลป์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยwww.faa.chula.ac.th
  • คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์  สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร  ลาดกระบังwww.arch.kmitl.ac.th/?choose_menu=course
๒.๒  สาขานิเทศศิลป์
คำว่านิเทศก็คือการสื่อสารข้อมูลหนึ่ง ๆ ไปยังสาธารณชน  นิเทศศาสตร์เขาเรียนการประชาสัมพันธ์  การโฆษณา  นิเทศศิลป์ก็เรียนเรื่องพวกนั้น  เพียงแต่สื่อออกมาในรูปของภาพนิ่ง  หรือภาพเคลื่อนไหว  คนที่ชอบวาดการ์ตูนน่าจะได้เปรียบในด้านนี้  

การเตรียมตัวเพื่อสอบ
*Drawing  *ความสามารถในการสื่อสารด้วยภาพ 

บัณฑิตที่จบด้านนี้มาส่วนใหญ่มักทำงานในด้านการโฆษณา  เป็นครีเอทีพ  ทำแอนิเมชั่น  หรือทำงานด้านกราฟิคดีไซน์ 

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน
  • คณะมัณฑนศิลป์  ภาควิชานิเทศศิลป์  มหาวิทยาลัยศิลปากร www.su.ac.th/academics
  • คณะศิลปกรรมศาสตร์  ภาควิชานฤมิตศิลป์  วิชาเอกเรขศิลป์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยwww.faa.chula.ac.th
  • คณะศิลปกรรมศาสตร์  สาขาวิชาการออกแบบทัศนศิลป์-การออกแบบสื่อสาร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  ประสานมิตร fofa.swu.ac.th
  • คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์  สาขาวิชานิเทศศิลป์  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร  ลาดกระบัง www.arch.kmitl.ac.th/?choose_menu=course
๒.๓  สาขาออกแบบผลิตภัณฑ์
ผลิตภัณฑ์ สินค้า
ปัจจุบันนี้เราจะเห็นว่า  ตามท้องตลาดจะมีผลิตภัณฑ์รูปร่างหน้าตาแปลก ๆ ใหม่ ๆ ออกวางจำหน่ายมากมาย  สินค้าบางชนิดเกิดจากการตอบสนองความเปลี่ยนแปลงของสังคม  เช่นสมัยก่อนเราฟังเพลงจากแผ่นเสียงแต่สมัยนี้เราฟังเพลงจากMP3กันแล้ว  เพราะบริษัทผลิตเพลง เดี๋ยวนี้มันมากมายและเพลงในโลกนี้ก็มีไม่รู้กี่ล้าน เพลงเข้าไปแล้ว  นี่คือหัวใจของคนออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ต้องตามบ้านเมืองให้ทัน  และถ้าจะให้ดีก็ควรคิดล้ำหน้าคนอื่นเขาไปสักขั้นสองขั้น  เพื่อทำในสิ่งที่คนอื่นเขายังคิดไม่ถึง  นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์หลาย ๆ ตัวเขาไม่ได้ขายประโยชน์ใช้สอยกันแล้ว  แต่เขาขายไอเดีย  ขายความคิดสร้างสรรค์

การเตรียมตัวเพื่อสอบ 
*Drawing  *การออกแบบผลิตภัณฑ์ *Sketch design

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน
  • คณะมัณฑนศิลป์  ภาควิชาออกแบบผลิตภัณฑ์  มหาวิทยาลัยศิลปากร www.su.ac.th/academics
  • คณะศิลปกรรมศาสตร์  ภาควิชานฤมิตศิลป์  วิชาเอกหัตถศิลป์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยwww.faa.chula.ac.th
  • คณะศิลปกรรมศาสตร์  สาขาวิชาการออกแบบทัศนศิลป์-การออกแบบผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  ประสานมิตร fofa.swu.ac.th
  • คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์  สาขาวิชาศิลปอุตสาหกรรม  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร  ลาดกระบัง www.arch.kmitl.ac.th/?choose_menu=course
๒.๔  สาขาออกแบบเครื่องประดับ
การออกแบบเครื่องประดับ ความรู้เกี่ยวกับวัสดุหลากหลายชนิดนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการออกแบบเครื่องประดับ

การเตรียมตัวเพื่อสอบ  
* Drawing  (เพื่อทำสเกตช์ไอเดีย)  มีความคิดสร้างสรรค์ที่ดีแล้ว  ควรสนใจศึกษาตลาดเครื่องประดับด้วยว่าเขานิยมอะไร  และเราเลือกที่จะตามเขา  หรือว่าเลือกที่จะมีจุดยืนที่แตกต่าง  
 
มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน
  • คณะมัณฑนศิลป์  ภาควิชาออกเครื่องประดับ มหาวิทยาลัยศิลปากร www.su.ac.th/academics
  • คณะศิลปกรรมศาสตร์  สาขาวิชาการออกแบบทัศนศิลป์-ศิลปะเครื่องประดับ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  ประสานมิตร fofa.swu.ac.th
๒.๕  สาขาการออกแบบแฟชั่น
การออกแบบแฟชั่นหรือเครื่องแต่งกาย  

การเตรียมตัวเพื่อสอบ 
*ควรมีพื้นฐานความรู้ในเรื่องการตัดเย็บเสื้อผ้าพอสมควร  บางแห่งเวลาสอบเขามีสอบทักษะการตัดเย็บเสื้อผ้าด้วย  *Drawing  ในลักษณะการวาดตัวแบบ  เสื้อผ้า  และเขียนแพทเทิร์น  

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน
  • คณะศิลปกรรมศาสตร์  ภาควิชานฤมิตศิลป์  วิชาเอกออกแบบแฟชั่น  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยwww.faa.chula.ac.th
  • คณะศิลปกรรมศาสตร์  สาขาวิชาการออกแบบทัศนศิลป์-การออกแบบแฟชั่น มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  ประสานมิตร fofa.swu.ac.th
  • คณะศิลปกรรมศาสตร์  สาขาการออกแบบพัสตราภรณ์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ fineart.tu.ac.th/home.asp
๒.๖  สาขาการออกแบบเซรามิค
อุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผาและเซรามิคถือเป็นสิ่งที่มีกำเนิดมายาวนาน  อีกทั้งยังมีตลาดรองรับที่ค่อนข้างใหญ่  ทั้งเซรามิคแบบอุตสาหกรรม  และเซรามิคแบบแฮนด์เมด  การเรียนการสอนในสาขาวิชานี้  จะมีการปูพื้นฐานให้นักศึกษามีความรู้ในด้านการทำเซรามิค  การผสมดินสูตรต่าง ๆ ที่ให้ผลลัพธ์น่าสนใจแตกต่างกัน  จะได้เรียนรู้การทำน้ำเคลือบ  และการทำเตาเผาเซรามิค  สิ่ง เหล่านี้ถึงแม้จะมีสูตร  มีทฤษฎีที่ตายตัว  แต่การทำเซรามิคที่เป็นงานศิลปะนั้นมันสนุกตรงที่เราจะแหกกฎอย่างไร  (ให้งานออกมาดี)  ยิ่งเราค้นคว้าทดลองสูตรใหม่ ๆ เราก็จะได้เครื่องเซรามิคที่หน้าตาไม่เหมือนใคร  และมีคุณสมบัติที่โดดเด่นกว่าคนอื่น 

การเตรียมตัวเพื่อสอบ
*Drawing  *ความสามารถด้านการออกแบบ (ขึ้นอยู่กับแต่ละมหวิทยาลัย)

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน
  • คณะมัณฑนศิลป์  ภาควิชาออกแบบเซรามิคส์  มหาวิทยาลัยศิลปากร www.su.ac.th/academics
  • คณะศิลปกรรมศาสตร์  สาขาวิชาทัศนศิลป์-เซรามิค มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  ประสานมิตร fofa.swu.ac.th
  • คณะศิลปกรรมศาสตร์  ภาควิชานฤมิตศิลป์  วิชาเอกออกแบบแฟชั่น  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยwww.faa.chula.ac.th
๒.๗  สาขาภาพยนต์
ด้านการทำหนัง  และอยากเรียนต่อในสาขาภาพยนต์  ซึ่งถือเป็นสาขาน้องใหม่ในบ้านเรา  มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนในระดับปริญญาตรีก็จะมีที่พระจอมเกล้าฯ  ลาดกระบัง  และวิทยาลัยนานาชาติ  มหิดล  การเตรียมตัวก็คือต้องมีพื้นฐานด้านการถ่ายภาพพอสมควร  เมื่อเข้ามาเรียนแล้วก็จะได้เรียนรู้เทคนิควิธีด้านการตัดต่อภาพยนต์  การวางแนวเรื่อง  และการนำเสนอผลงาน
มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน 

การเตรียมตัวเพื่อสอบ 
*Drawing  *ความสามารถด้านการออกแบบ (ขึ้นอยู่กับแต่ละมหวิทยาลัย)
  • คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์  สาขาวิชานิเทศศิลป์  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร  ลาดกระบัง www.arch.kmitl.ac.th/?choose_menu=course
๒.๘  สาขาภาพถ่าย
เหมาะสำหรับคนที่มีใจรักทางด้านการถ่ายภาพ  ควรมีพื้นความรู้ด้านการใช้กล้องพอสมควรทั้งแบบแมนนวล  และดิจิตอล  (ใครอย่าหาว่ากล้องแมนนวลล้าสมัยแล้วนะคะ  ยังมีเทคนิคอีกมากที่กล้องแมนนวลทำได้ดีกว่าดิจิตอล)  การถ่ายรูปไม่ใช่ว่าสักแต่ถ่ายให้สวย  ในงานระดับสูงการถ่ายรูปก็นับเป็นสื่อที่ช่วยสร้างสรรค์งานศิลปะอีกทางหนึ่ง 

 การเตรียมตัวเพื่อสอบ 
*Drawing  *ความสามารถด้านการออกแบบ (ขึ้นอยู่กับแต่ละมหวิทยาลัย) 
 
มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน 
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์  สาขาวิชานิเทศศิลป์  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร  ลาดกระบัง www.arch.kmitl.ac.th/?choose_menu=course

๒.๙ สาขาแอนิเมชันและมัลติมีเดีย 
 ปัจจุบันมีหลายๆมหาวิทยาลัยเปิดสอน ด้านออกแบบแอนิเมชันและมัลติมีเดีย ในบางมหาวิทยาลัยอยุ่ในสายนิเทศศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ บางที่เปิดเป็นการเรียนรู้เชิงโครงการ ทั้งด้านออกแบบเกม digital art และอื่นๆอีกมากมาย 

การเตรียมตัวสอบ
*Drawing  *ความสามารถด้านการออกแบบ (ขึ้นอยู่กับแต่ละมหวิทยาลัย) 
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 
  • มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
  • มหาวิทยาลัยรังสิต
  • มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

การเปิดสอบตรงที่เริ่มมีการรับสมัครแล้วในช่วงนี้ เข้าไปดูรายละเอียดได้ตาม link

No comments:

Post a Comment